ตำนานพระศิวะ (พระอิศวร)
พระศิวะ (หรือที่คนไทยเรียกกันว่า พระอิศวร) ตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นมหาเทพสูงสุดองค์หนึ่ง หนึ่งในสามของมหาเทพสูงสุดของสวรรค์ (มหาเทพสูงสุดทั้งสามคือ พระพรหม พระศิวะ และพระวิษณุ เมื่อรวมร่างกันแล้วจะกลายเป็นองค์ตรีมูรติ)
พระองค์มีพระวรกายสีขาว รูปร่างกำยำ พระเกศายาวม้วนเป็นมวยผม นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤษี ดูปอนๆ มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีพญานาคคล้องอยู่ที่พระศอ ไม่โปรดที่จะประดับด้วยแก้วแหวนเงินทอง มีศาสตราวุธประจำพระองค์คือ ตรีศูล (หลาวสามง่าม) มีพาหนะเป็นวัว พระโคนนทิ ดูแลและให้พรแก่เหล่าฤษีและโยคีที่เป็นบริวาร ชอบนั่งบำเพ็ญเพียรในป่าลึกที่สิงสถิตย์ของเหล่าภูติพรายพระศิวะ
เป็นมหาเทพแห่งการทำลายล้าง ทำลายล้างสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีพระเนตรสามดวง โดยพระเนตรดวงที่สามอยู่กลางพระนลาฏ(หน้าผาก) โดยปกติจะปิดอยู่ แต่เมื่อไรที่ตาที่สามลืมตาขึ้น จะเกิดเป็นไฟบัลลัยกัลป์ มีพลังอำนาจทำลายทุกสรรพสิ่งที่ให้มอดไหมในทันที มีความเชื่อว่าพระศิวะจะเป็นผู้ทำลายล้างโลกเมือเวลาผ่านไปกัปหนึ่ง เพื่อให้พระพรหมสร้างโลกใหม่ที่มีแต่ความบริสุทธิ์ขึ้นมาแทน เป็นวัฐจักรเช่นนี้เวียนวนไป
พระองค์ทรงพำนักอยู่ที่เขาไกรลาสอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล มีพระแม่ปราวตีเป็นมเหสีคู่บารมี และมีพระโอรสสองพระองค์คือ พระขันธกุมาร เทพแห่งสงคราม และพระพิฆเณศ เทพแห่งปัญญา นอกจากนี้ยังมีชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวี
พระองค์มักจะให้พรกับผู้ทำดี ประพฤติดี บำเพ็ญศีลภาวนะ แต่หากวันใดผู้นำกระทำหรือประพฤติผิด พระองค์อาจจะทรงทำลายล้างเสียให้สิ้นไปได้เหมือนกัน
ศิวะนาฏราช
นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นเทพแห่งดนตรีผู้โปรดการร่ายรำ และเป็นต้นกำเนิดแห่งท่วงท่าการร่ายรำของเทพเจ้าที่เรียกว่า“ปางศิวะนาฏราช” ซึ่งชาวฮินดูได้นำมาดัดแปลงเป็นท่วงท่าการร่ายรำต่างๆจวบจนวันนี้ และถือว่าเป็นการระบำที่ต้องระบำก่อนพิธีการอื่นๆในการบวงสรวงพระศิวะทุกครั้งไป
ตามตำนานเกี่ยวกับการร่ายรำนี้เล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่งมีกลุ่มฤษีกลุ่มหนึ่งที่เริ่มทำตัวออกนอกลู่นอกทาง ไม่สวดมนต์หรือบูชามหาเทพและประพฤติตัวไม่เหมาะสม พระศิวะและพระวิษณุจึงจำแลงกายเป็นโยคีหนุ่มกับภรรยาสาว(พระศิวะแปลงเป็นโยคีหนุ่ม)เดินทางผ่านไป ฤษีเหล่านั้นมีจิตเกิดกิเลสตัณหา จึงเวียนวนเข้ามาเกี้ยวพาราสีภรรยาสาว แต่ไม่สำเร็จ จึงสาปแช่งทั้งโยคีหนุ่มและภรรยาสาว แต่ก็ไม่สามารถทำอันตรายทั้งคู่ได้ จึงส่งอสูรนามว่ามุยะละกะมาปราบ แต่ในที่สุดพระศิวะก็ได้แสดงอภินิหาร ระบำเป็นท่วงท่างดงาม น่าเกรงขามและสุดพิสดาร เหยียบอสูรจนจมพื้นปฐพี เหล่าดาบสจึงยอมจำนนและมารู้ว่าภายหลังว่านั่นคือมนต์ของพระศิวะนั่นเอง
ศิวะลึงค์ ตัวแทนแห่งมหาเทพ
ตามความเชื่อของไศวนิกาย หรือกลุ่มคนฮินดูที่นับถือพระศิวะเป็นมหาเทพสูงสุดในจักรวาล มักใช้รูปปั้นศิวะลึงค์ (รูปปั้นที่เป็นลักษณะอวัยวะเพศชาย) เป็นสัญลักษณ์ในการบูชาพระศิวะ โดยถือกันว่า ศิวะลึงก์เป็นตัวแทนของการให้กำเนิดผู้คนรวมทั้งสรรพสิ่งบนโลกนี้นั่นเอง ด้วยเหตุนี้เราจะพบว่ามีแท่งศิวะลึงค์เป็นตัวแทนของพระศิวะให้ผู้คนกราบไหว้บูชาในเทวาลัยหลายๆแห่งในอินเดียเป็นเรื่องปกติ โดยมากจะบูชาด้วยดอกไม้สีสด เครื่องหอม การราดด้วยน้ำบริสุทธ์หรือน้ำนม
นอกจากนี้ ศิวะลึงค์ก็ได้รับการบูชาเป็นอย่างมากในกลุ่มของพ่อค้าหรือนักธุรกิจชาวอินเดีย โดยมีความเชื่อว่า ศิวะลึงก์นี้จะนำมาซึ่งอำนาจบารมี เกียรติยศ และความมีชัยชนะเหนือคู่แข่งทั้งหลายทั้งปวง
วิธีบูชาพระศิวะในวันธรรมดา
ของถวาย:
- น้ำดื่มหรือนมสด(นมจืด)
-
ดอกไม้สีสด เช่น ดาวเรือง ดอกกุหลาบ
-
กำยาน
-
ผลไม้ 1-3 ชนิด
-
ขนมหวาน (ห้ามมีส่วนผสมของเนื้อใดๆ)
-
ธัญพืช 1-2ชนิด อาทิ เมล็ดถั่ว เมล็ดข้าว งา ลูกเดือย หรือธัญพืขอื่นๆ
คาถาบูชา:
โอม นะมัสศิวายะ (3จบ)
โอม กระปูระเคารัม กรุณาวะตารัม สัมสาระสารัม ภุชะเคน ทระหารัม สะทาวะสันตัม หะริทะยาระวินเท ภะวัมภะวาณิ สะหิตัม นะมามิ
เสร็จแล้วให้อธิษฐานขอพรสิ่งที่ปรารถนา
วิธีบูชาศิวะลึงค์
การสรงศิวะลึงค์ในวันจันทร์(โสมวาร วันจันทร์ถือว่าเป็นวันประจำตัวของพระศิวะ) หรือในวันศิวะราตรีของทุกเดือน(วันแรม 14ค่ำ) ด้วยเครื่องสังเวยปัญจมฤติทั้งห้า เปรียบเสมือนการอาบน้ำถวายแด่มหาเทพ ทำให้พระองค์มีความผ่อนคลายและพีงพอใจ ขอพรใดๆก็จะได้สมประสงค์
สิ่งที่ต้องเตรียม:
- ศิวะลึงค์พร้อมถาดรอง
- ประทีป 1ดวง (หรือกำยานหอม)
- ดอกไม้สีสด อาทิ ดอกดาวเรือง ดอกกุหลาบ หรืออื่นๆ
- เครื่องสังเวย ปัญจมฤติทั้งห้า: นมสด 1ถ้วยใหญ่, โยเกิร์ต ครึ่งถ้วย, เนยหรือเนยกี 1/4ถ้วย, น้ำตาล ¼ ถ้วย, น้ำผึ้ง ¼ ถ้วย• น้ำสะอาด 1 ถ้ว
ขั้นตอนการทำพิธี
- ถวายดอกไม้ไว้หน้ารูปหรือรูปปั้น จุดประทีปแล้ววางไว้คู่กัน
- เริ่มสรงศิวะลึงค์ด้วยปัญจามฤติทั้งห้า โดยค่อยๆราดของบูชาไปทีละอย่างเริ่มจากนมสด ตามด้วยโยเกิร์ต เนย น้ำตาล และน้ำผึ้ง
- เสร็จขั้นตอนสุดท้ายด้วยการสรงน้ำศิวะลึงก์ด้วยน้ำสะอาด
- ในระหว่างทำพิธีสรง ให้สวดมนต์ว่า “โอม นมัชฉิวายะนะมาฮา” 3 จบแล้วจึงอธิษฐานขอพร วนไปเรื่อยๆจนเสร็จพิธี
Copyright 2022 - 2024. All rights reserved.